วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

12 - วันที่ 26 มีนาคม 2564 -

 

♦♦ บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 ♦♦
    เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของการเขียนโครงการ โดยแบ่งกลุ่ม จำนวน 6 - 7 คน
มีรายละเอียดของโครการ ดังนี

ชื่อโครงการ
เล่าสนุก ฉุกจินตนาการ (นิทานเด็กปฐมวัย)

ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.  นางสาวอารีย์รัตน์ ไชยคำ หัวหน้าโครงการ
2.  นางสาวตวงรัตน์ เจริญภาพ กรรมการ
3.  นางสาวกัญญาภัค ดวงตาดำ กรรมการ
4.  นางสาวภุมรินทร์ ภูมิอินทร์ กรรมการ
5.  นางสาวณัฏฐา กล้าการนา กรรมการ
6.  นางสาวนวรัตน์ ปิยางกูร กรรมการและผู้ช่วย
7.  นางสาวรุ่งนภา ชัยลิ้นฟ้า เลขานุการ

ที่ปรึกษาโครงการ
ดร.จินตนา สุขสำราญ

หลักการและเหตุผล
เด็กปฐมวัยเป็นเด็กในวัยเริ่มแรกของชีวิตนับเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งเป็นความหวังของครอบครัว เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อนาคตของประเทศชติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ วัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่นๆ ของชีวิตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจริยธรรม ซึ่งจะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านนับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าใจเด็กให้มีความสนจกรอ่าน พัฒนาการอ่าน และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงให้มีการอ่านอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งก่อเกิดเป็นนิสัยรักการอ่าน โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายอาทิ การเล่านิทาน การเสนอสื่อ การแสดงละคร บทบาทสมมติ การเล่นเกม การจัดนิทรศการเพื่อกระตุ้นให้อยากอ่าน พัฒนาการอ่าน สนุกสนานแฝงสาระให้ทุกคนมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเป็นอย่างยิ่ง ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง เป็นลำตับขั้น การจัดการเรียนรู้ด้านภาษาให้กับเด็กนั้น ผู้ใหญ่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องคำนึงถึงและมีความตระหนักในเรื่องพัฒนาการทางภาษาพร้อมกับความรู้ในเรื่องของสมองของเด็ก เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเกิดพัฒนาการที่ดีตามวัยของเด็กทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมสติปัญญาและภาษา โดยเฉพาะพัฒนาการทางสังคมในเรื่องของความมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งสามารถปลูกฝังผ่านการเล่านิทานจนเกิดความผูกพัน และมีเจตนคติที่ดีในด้านต่างๆ ติดตัวไปจนโต การเล่านิทานเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ความใกลัชิด ผูกพันระหว่างผู้เล่ากับเด็ก ให้ผู้เล่าเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเด็ก ขณะที่เล่าเด็กจะติดจินตนาการ เข้าใจซึมชับ รับรู้แยกแยะในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ครู บุคคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถนำเอาแนวคิดทฤษฎีการสอนนิทานไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 
2.เพื่อให้ครู บุคคลากรทางการและผู้ที่สนใจนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

กิจกรรม


เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
            จำนวนคนในการเข้าสัมมนา คือจำนวน 100 คน
        2.ด้านคุณภาพ
    2.1.เพื่อให้ครู บุคคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถนำเอาแนวคิดทฤษฎีการสอนนิทานไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
    2.2 เพื่อให้ครู บุคคลากรทางการและผู้ที่สนใจนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

ระยะเวลา
  วันเสาร์ที่ 10  เมษายน 2564  เวลา  9.00 น. -12.00 น.

สถานที่
อบรมออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom

กำหนดการ


ผ่านระบบการสัมมนาออนไลน์ (webinar)
โครงการสัมมนา เล่าสนุก ฉุกจินตนาการ (เด็กปฐมวัย)
ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom
วันเสาร์ที่ 10  เมษายน 2564  เวลา  09.00-12.00 น.

กำหนดการ                           กิจกรรม
09.00 - 09.15 น.                 เริ่มเข้าระบบสัมมนาออนไลน์ แนะนำวิทยากร/ แจ้ง       กำหนดการ / ดำเนินรายการ  โดย นางสาว...................................
09.15 - 09.30 น.                 กล่าวต้อนรับและเปิดการสัมมนาออนไลน์โดย ดร.จินตนาสุขสำราญ  ที่ปรึกษาโครงการ
09.30 – 11.30 น.                อบรมการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย  
11.30 – 12.00 น.                ทำแบบสำรวจความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมการสัมมนาออนไลน์

*หมายเหตุ   กำหนดการข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อให้ครู บุคคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถนำเอาแนวคิดทฤษฎีการสอนนิทานไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
2 เพื่อให้ครู บุคคลากรทางการและผู้ที่สนใจนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
3.ครูและเด็กเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 เป็นไปตามวัตถุประสงค์
4.ครูมีความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในเกณฑ์ 3.5 ขึ้นไป

การประเมินผลโครงการ

ประเด็นที่จะประเมิน

วิธีการประเมิน

เครื่องมือ

1.จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของอบรมออนไลน์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ลงทะเบียน

แบบรายชื่อ google forms

2.การทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการสัมมนา และการสำรวจความพึงพอใจ

แบบสอบถาม

แบบทดสอบ/แบบสอบถาม

3.การดำเนินกิจกรรมของโครงการ

สังเกตและจดบันทึก

แบบบันทึกโคงการ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

17 - วันที่ 30 เมษายน 2564 -

  ♦♦ บันทึกการเรียนครั้งที่ 17 ♦♦ การสัมมนาออนไลน์ โดยรวมกลุ่มเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ การสัมมนาออนไลน์เรื่องที่ 1 : การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้รู้สอง...